ค้นหาบล็อกนี้

หน้าเว็บ

ตากน้ำตา

slide5

สไลด์ 3

slide Show

ปฏิทิน




Code Calendar by zalim-code.com

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

e-mail pudis

poodis01@yahoo.co.th

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 12

เรียนท่านอาจารย์ อภิชาติ ที่เคารพ ผมภูดิศ หนูคง ส่งใบงานที่ 12 ขอบคุณครับ
การใช้โปรแกรม SPSS1. ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรมคลิก Start -> All Programs -> SPSS for Windows -> SPSS 11.5 for Windowsหรือ Double Click ไอคอนบนหน้าจอ Windows2. ส่วนประกอบหลักของ SPSS FOR WINDOWSเมื่อเปิดโปรแกรมจะได้หน้าต่างที่มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้-Title Bar บอกชื่อไฟล์ เช่น Untitled-SPSS Data Editor (หากเปิดครั้งแรก)-Menu Bar คำสั่งการทำงาน-Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร-Cases ชุดของตัวแปร-Variable กำหนดชื่อตัวแปร-View Bar มีสองส่วน ได้แก่ Variable View (สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร) และ Data View (เพิ่มและแก้ไขตัวแปร)-Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน3. การป้อนข้อมูลจากหน้าจอData Editor 3.1 เปิด SPSS Data Editor โดยไปที่ File -> New -> Data3.2 กำหนดชื่อและรายละเอียด จากหน้าจอ Variable View3.3 ป้อนข้อมูล Data View3.4 บันทึกข้อมูล File -> Save

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ ๘ -๑๒

วันจันทร์, ธันวาคม 28, 2009
ใบงานที่12
ให้ผู้เรียนสรุปการนำเสนอโปรแกรม SPSS OF WINDOWS ในวันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม 2552ตามที่นักศึกษาได้เรียนรู้ และเสนอแนะต้องการเรียนอะไรเพิ่มเติมให้เขียนบอกลงในWebboardของผู้เรียนด้วย
เขียนโดย apichatwat53 ที่ 10:37 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้
ป้ายกำกับ: สรุปผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
วันจันทร์, ธันวาคม 21, 2009
ใบงานที่ 11

ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้สอนลงในwebboard ของนักศึกษา แสดงความรู้สึกความคิดเห็นที่ได้เรียนกับอาจารย์ เพื่อจะได้นำข้อคิดเห็นไปปรับปรุงในการเรียนการสอนในโอกาสต่อไป
ตอบ สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓ ท่านอาจารย์อภิชาตที่เคารพ
ความคิดเห็นที่ได้เรียนกับอาจารย์ นับเป็นโอกาสดีที่ท่านได้ให้แนวคิดในการพัฒนาตนเองด้านสื่อไอซีที ท่านมีความสามารถในการนำเสนอสื่อใหม่ ๆ และสาธิตการใช้จนผู้เรียนสามารถทำได้ด้วยตนเอง สามารถนำไปพัฒนาการเก็บข้อมูลและนำเสนองานในส่วนที่ผู้เรียนหลักสูตร ป.บัณฑิตรับผิดชอบ และท่านยังศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเมื่อพบนวัตกรรมแล้วได้นำมาเผยแพร่ต่อไป่านได้ให้แนวคิดในการพัฒนาตนเองด้านสื่อไอซีที ท่านมีความสามารถในการนำเสนอสื่อตรวจให้คะแนนความคิดเห็นทก ๆ คน
เขียนโดย apichatwat53 ที่ 11:09 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้
ใบงานที่ 10
ขอให้นักศึกษาเขียน
ประวัติตนเอง ดังนี้นายภูดิศ หนูคง เกิดเมื่อ ๒๘ ตุลาคม ๒๔๙๘ สถานที่เกิดบ้านเกาะจาก เลขที่๕๘ หมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะทวด อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชการศึกษา
อนุบาล พ่อสอนที่บ้าน
ประถมศึกษา ป. ๑-๔ โรงเรียนวัดเกาะจาก
มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเกาะจากวิทยา
มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนปากพนัง
อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บอกสถานศึกษาที่ได้ศึกษา แต่ละระดับการศึกษา
การทำงาน ๒๕๑๙ ครู ๒ โรงเรียนพิปูนสังฆรักษ์ประชาอุทิศ
๒๕๒๓ อาจารย์ ๑ โรงเรียนโศภณคณาภรณ์
๒๕๒๘อาจารย์ ๑ โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์
๒๕๓๕ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเชียรใหญ่สามัคคีวิทยา
๒๕๓๖ รองผู้อำนวยการโรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ
๒๕๕๒ รองผู้อำนวยการระดับ ๘ โรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ
๒๕๕๓
๒๕๕๔
๒๕๕๕ ตำแหน่งที่บรรจุครั้งแรก จนถึงปัจจุบัน ใส่รูปถ่ายลงใน Webborad ของนักศึกษาลงในใบงานที่ 10 ที่นักศึกษาเห็นว่า สวย/งาม หรือหล่อที่สุด
เขียนโดย apichatwat53 ที่ 11:06 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้
ใบงานที่ 9
[ของตกแต่งโดนๆคลิกเลย]ให้นักเรียนสรุปคุณลักษณะของผู้บริหารแบบมืออาชีพในยุคปัจจุบันนักศึกษาคิดว่าน่าจะไปอย่างไร ขอให้เขียนตอบลงใน Webboard แต่ละคน ในใบงานที่ 9 ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ

ตอบใบงานที่ ๙ คำว่า “ผู้บริหาร” ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ1 มี 2 ความหมาย คือ
ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
2“ผู้บริหารมืออาชีพ” ยังเป็นคำที่ค่อนข้างใหม่สำหรับวงการศึกษาเพิ่มจะเริ่มเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้นก็เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งในหมวด 7 ได้กำหนดไว้ว่า ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายกำหนด
แม้จะยังไม่มีใครให้คำจำกัดความไว้ที่ชัดเจนว่าผู้บริหารมืออาชีพทางการศึกษามีลักษณะอย่างไร แต่ในที่นี้หมายถึงผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและจัดการศึกษาทั้งในระดับสถานศึกษาและในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
โดยภาพรวม คำว่า “มืออาชีพ” หรือ “Professional” มีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. ต้องเป็นคนที่ยังชีพด้วยงานนั้น คือ ต้องมีรายได้หลักจากการงานในวิชาชีพที่ทำ และทุ่มเทเวลาให้กับงานในอาชีพนั้นจริง ๆ
2. ต้องมีการศึกษาและอบรม เพื่อให้มีความรู้ มีศาสตร์ มีหลักการ มีทฤษฎี มีการวิจัยค้น จนรู้ชัดและรู้จริง และมีการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
3. ต้องนำศาสตร์ไปใช้ในการบริหาร มีการฝึกฝนอย่างจริงจังในอาชีพนั้น ๆ จริง ๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ที่มากพอ
4. ต้องมีการรับรองมาตรฐานแห่งวิชาชีพ โดยมีการออกใบรับรองหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล ทนายความ นักบัญชี สถาปนิก วิศวกร เป็นต้น ซึ่งในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ และการดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพดังกล่าว จะต้องใช้ผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเท่านั้น
5. ต้องมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ สำหรับยึดถือและปฏิบัติโดยเคร่งครัด
6. มีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพให้การรับรอง โดยการออกใบประกอบวิชาชีพ เพื่อควบคุมกำกับดูแลคุณภาพ มาตรฐาน และจรรยาบรรณ รวมทั้งมีมาตรการลงโทษเมื่อมีการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
จะเห็นว่า วิชาชีพที่มีการรับรองทั้งหลายล้วนแล้วแต่ใช้ทฤษฎีหลักการ และองค์ความรู้ และองค์ความรู้ที่ร่ำเรียนมาทั้งสิ้น แต่นักบริหารการศึกษาของเราน้อยรายนักที่จะใช้ศาสตร์ในการบริหารงาน ส่วนมากมักบริหารโดยไม่ใช้ทฤษฎี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะการศึกษาอบรมไม่เข้มข้น ไม่มีการเชื่อมโยงทฤษฎีกับชีวิตการทำงาน และขาดการฝึกฝนอย่างเพียงพอ ทำให้การบริหารกันแบบ “มั่ว แมเนจเมนท์” เป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ๆ ที่การศึกษาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
สังคมไทยอยากเห็นผู้บริหารการศึกษาของเราเป็น “ผู้บริหารมืออาชีพ” มีความรู้และประสบการณ์สมกับเป็นผู้บริหารบุคลากรที่เป็นครูมืออาชีพแล้ว ผู้บริหารยุคใหม่ต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ เป็นผู้นำการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติโดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถใน “การบริหารโดยการใช้โรงเรียนเป็นฐาน” (School-based Management) ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะประสานการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ความสามารถในการระดมและใช้ทรัพยากรเพื่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ ไม่บริหารแบบมั่ว ๆ โดยไม่ใช้ศาสตร์หรือความรู้ที่ร่ำเรียนมา
แม้ว่าการบริหารหน่วยงานทางการศึกษาจะไม่เห็นผลกำไรหรือขาดทุนอย่างชัดเจนอย่างภาคเอกชน แต่เราสามารถประเมินได้ว่า ผู้บริหารคนไหนเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ก็คือ3
1. วัดจากความสำเร็จของการปฏิบัติงาน (Outputs) โดยวัดที่การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ คือ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และมีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ดังนั้น การพิจารณาว่าคนที่เข้ามาเรียนได้เกิดการเรียนรู้หรือไม่ ก็วัดได้โดยใช้มาตรฐานหรือตัวบ่งชี้ แต่ผู้บริหารมืออาชีพมิใช่เพียงทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์เท่านั้น แต่ต้องสามารถบริหารและจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย คือ ให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงที่สุดโดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
2. วัดจากความสามารถในกระบวนการบริหาร (Process) ผู้บริหารมืออาชีพต้องใช้กระบวนการ P-D-C-A วางแผนเก่ง วางแผนเป็นนำแผนฯ ที่วางไว้ไปสู่การปฏิบัติจริง ไม่กลัวการประเมินเพื่อพัฒนา และปรับเป้าหมายเพื่อให้วงจรการทำงานในขั้นต่อไปดีขึ้นตลอดเวลา ฉะนั้น ผู้บริหารมืออาชีพต้องใช้วิจัยในกระบวนการบริหาร รวมทั้งต้องมีวิสัยทัศน์มีกลยุทธ์ที่สามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสอยู่เสมอ
นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบการสรรหาและเตรียมความพร้อมทุกด้านให้กับผู้บริหารมืออาชีพก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง มีการพัฒนาระหว่างประจำการ และมีการประเมินผลงานเพื่อปรับปรุงตลอดเวลา
สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ถ้าอ่านพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติอย่างรอบคอบจะพบว่า ผู้บริหารมืออาชีพต้องสามารถปฏิบัติภารให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ ต้องส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถจัดการศึกษาได้ทั้ง 3 รูปแบบ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร จัดให้ระบบการประกันคุณภาพภายใน บริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร และการจัดการเรียนการสอน
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถในการจัดการใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุดโดยประหยัดสุด ผู้บริหารมืออาชีพจะไม่ท่องคาถาเชย ๆ ที่สะท้อนปัญหาซ้ำซากของการบริหารแบบโบราณที่ว่า “ขาดคน ขาดเงิน” อีกต่อไป ให้เกียรติและยกย่องครู ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) กับการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผู้บริหารมืออาชีพต้องมองเห็นความสำคัญและยกย่องให้เกียรติกรรมการสถานศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองและชุมชน ในฐานะเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่า สามารถสนับสนุนสถานศึกษาได้ทั้งในเรื่องคำแนะนำ ความคิดเห็น ภูมิปัญญาความรู้ อาคารสถานที่ แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
ผู้บริหารมืออาชีพ คือ ความหวังของการศึกษาไทย เป็นความหวังสำหรับเยาวชนผู้เป็นอนาคตของชาติและสังคมไทยโดยรวม แม้จะเริ่มต้นโดยความพยายามในการสร้างผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบจำนวนไม่มากนัก แต่การขยายผลอย่างมั่นคงและต่อเนื่องจะนำไปสู่การยกระดับผู้บริหารสถานศึกษาทั้งประเทศให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพโดยทั่วหน้ากัน ประเทศไทยเราจะมีผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประเทศใด ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพเหล่านี้แหละที่จะเป็นผู้นำการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยอย่างแท้จริง
เนื่องจากความสลับซับซ้อนของภารกิจและการเปลี่ยนแนวทางการบริหารตามการปฏิรูปใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จำเป็นต้องมีผู้บริหารการศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถหรือคุณลักษณะเฉพาะหลายประการ กล่าวคือ นอกจากต้องมีคุณสมบัติได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาตามเกณฑ์ที่จะกำหนด (เช่น ตามข้อกำหนดของสำนักงานปฏิรูปการศึกษา) และตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการและด้านปัจจัย ของสำนักงานคณะการมการการศึกษาแห่งชาติแล้ว ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษาแล้วจำต้องมีลักษณะหรือคุณสมบัติ ดังนี้

4เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษาของคุรุสภา
คุรุสภา (2540) ได้ออกประกาศเกณฑ์มาตรฐานการบริหารการศึกษาของคุรุสภา 12 เกณฑ์ ดังนี้
1. ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา
2. ต้องตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาของบุคลากร ผู้เรียน และชุมชน
3. มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติตาม ได้เต็มศักยภาพ
4. พัฒนาแผนงานขององค์ กรให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
5. พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
6. ปฏิบัติงานขององค์กรโดยเน้นผลถาวร
7. รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ
8. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
9. ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์
10. แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
11. เป็นผู้นำและสร้างผ้านำ
12. สร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์

เขียนโดย apichatwat53 ที่ 11:02 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้
ใบงานที่ 8
ตามที่อาจารย์ให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับการใช้การใช้โปรแกรม SPSS OF WINDOWS ทบทวนพื้นฐานโดยให้นักศึกษาสรุปหัวข้อประเด็นดังนี้1.ความหมายคำว่าสถิติ อ่านความหมายจากนักวิชาการหลาย ๆท่านแล้วสรุปเป็นความคิดของนักศึกษา
ตอบสถิติ หมายถึง ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข เช่นสถิติการสมัครเข้าเรียนในสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ปีการศึกษา 2549

สถิติในความหมายของศาสตร์ หรือ เรียกว่า “สถิติศาสตร์” หรือวิชาสถิติเป็นวิชาแขนงหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การตีความหรือการแปลความหมายของข้อมูล
สถิติเป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดกระทำกับข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 สถิติพรรณนา เป็นวิชาสถิติที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้นและผลที่ได้จะยังไม่นำไปสรุปความหรือกล่าวอ้างอิงถึงกลุ่มอื่น เช่น 1.1.1 การแจกแจงความถี่ของข้อมูล
1.1.2 การวัดการกระจาย
1.1.3 การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
1.2 สถิติอนุมาน เป็นสถิติที่ว่าด้วยการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยมี จุดประสงค์เพื่อสรุปอ้างอิงผลไปสู่ข้อมูลประชากร
1.2.1 การประมาณค่า
1.2.2 การทดสอบสมมติฐาน

2.ตอบ
ฐานนิยม (Mode)หมายถึง ค่าที่มีความถี่มากที่สุด
ค่าเฉลี่ยค่าเฉลี่ย (Mean : X)
X = ΣX/n

ตอบ ค่ามัธยฐาน ค่ากลาง หมายถึง ค่าที่ใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งหมด
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นค่าที่บอกให้ทราบว่า ค่าวัดการกระจายห่างจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเพียงใดในแต่ละช่วงของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ถ้ามีค่าสูงแสดงว่ามีการกระจายมาก
ภายใน 1 ช่วงของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ย จะมีจำนวน(คน/ข้อมูล) อยู่ในช่วงนั้นประมาณ 68%
และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด3.คำว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ให้อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบประชากร (Population)
หน่วยของข้อมูล (Element หรือบางครั้งเรียก Unit of Data) ทุกหน่วยที่อยู่ในขอบเขตของข้อมูลวิจัย
ตัวอย่าง : การวิจัยเรื่องเจตคติของอาจารย์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานีที่มีต่อการจัดกิจกรรมวันลอยกระทง
หน่วยข้อมูล : อาจารย์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี แต่ละคน
ประชากร : อาจารย์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ทุกคน
ตัวอย่าง : การวิจัยเรื่องเจตคติของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานีที่มีต่อการจัดกิจกรรมวันลอยกระทง
หน่วยข้อมูล : อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี แต่ละคน
ประชากร : อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ทุกคน
4.นามบัญญัติ ระดับอันดับที่ ระดับช่วง ระดับอัตราส่วน ท่านเข้าใจอย่างไร อธิบายสั้น ๆ5.ตัวแปรคืออะไร
ตอบตัวแปรการวิจัย คือ คุณลักษณะ/ปรากฏการณ์ ที่เปลี่ยนจากคนหนึ่ง (สิ่งหนึ่ง) ไปยังอีกคนหนึ่ง(สิ่งหนึ่ง) สามารถสังเกตได้ บันทึกได้ โดยใช้ข้อความ หรือ ตัวเลข เช่น
1. เพศ (มี 2 ค่า คือ ชาย,หญิง)
2. คะแนน (1,2,3,................)
3. ศาสนา( พุทธ/ คริตสเตียน /อิสลาม.....)
ตัวแปรต้นคืออะไร
ตอบตัวแปรแบ่งตามลักษณะการเกิด
1.ตัวแปรตาม(Dependent Variable)
ตัวแปรที่มีผลจากตัวแปรต้น ค่าของตัวแปรตามจะเปลี่ยนไปตามปัจจัยในตัวแปรต้น
2. ตัวแปรอิสระ หรือ ตัวแปรต้น (Independent Variable)
ตัวแปรที่เป็นเหตุให้ตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงไป
3. ตัวแปรเกิน (Extraneous Variable)
ตัวแปรที่อาจจะเป็นเหตุให้ตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงไป
4. ตัวแปรแทรกซ้อน (Intervening Variable)
ตัวแปรที่แสดงบทบาทให้ตัวแปรตามเปลี่ยนไป นอกเหนืออำนาจของนักวิจัยจะควบคุมได้
ตัวแปรตาม คือ คะแนน (ประสิทธิภาพทางการเรียน)
ตัวแปรต้น คือ แบบเรียน (เป็นต้นเหตุที่นักวิจัยสนใจ นำมาศึกษา เพียงอย่างเดียว)
ตัวแปรเกิน คือ วิธีสอน ความสนใจ สติปัญญาของนักเรียน บรรยากาศในห้องเรียน ฯลฯ)
ตัวแปรแทรกซ้อน คือ ยังตอบไม่ได้ ต้องคอยสังเกตในช่วงดำเนินการวิจัย
6.สมมติฐาน คืออะไร สมมติฐานการวิจัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบสมมติฐาน คือ การคาดคะเนอย่างมีหลักการว่า ผลการวิจัยน่าจะออกมาในรูปใด อันจะนำไปสู่การพิสูจน์ โดยการทดสอบทางสถิติ หรือวิธีอื่น ๆ ต่อไป แบ่งได้ 3 ชนิด คือ
1. สมมติฐานการวิจัย(Research Hypothesis)
2. สมมติฐานเชิงปฏิบัติการ (Operational Hypothesis)
3. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)
7. T-test,ความหมาย
ตอบ เป็นเครื่องมือวัดทางพุทธิพิสัย(Cognitive Domain) ของมนุษย์ ใช้เมื่อต้องการวัดความรู้ความสามารถของคน หรือ ที่รู้จักกันในนามของข้อสอบนั่นเอง
ชนิดของแบบทดสอบ
1.แบบทดสอบไม่จำกัดเวลา (Power Test)
2.แบบทดสอบจำกัดเวลา (Speed Test)
3.แบบทดสอบกลุ่ม (Group Test)
4.แบบทดสอบรายบุคคล (Individual Test)
ตอบF-test คือการทดสอบหาค่าของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่สามตัวอย่างขึ้นไปต่างกับ t- tes เป็นการทอสอบจากข้อสอบให้นักศึกษาตอบลงในWebboard ของนักศึกษาเอง ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติในเสาร์หน้า ทำให้เสร็จก่อนเรียน มีคะแนนให้ ใช้ความคิคจากการที่อ่านและศึกษาจาก http://www.google.co.th/
เขียนโดย apichatwat53 ที่ 10:56 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้

1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545, สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
2 การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้, ดร.รุ่ง แก้วแดง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, สิงหาคม 2545
3 อ้างแล้วข้อ 2
4 คุรุสภา, เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษา, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2540.