ค้นหาบล็อกนี้

หน้าเว็บ

ตากน้ำตา

slide5

สไลด์ 3

slide Show

ปฏิทิน




Code Calendar by zalim-code.com

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 5

ให้นักศึกษาไปศึกษา Web วัดผลดอคอมhttp://www.watpon.com/

โดยให้นักศึกษาไปดาวน์โหลดเอกสารการใช้ SPSS Of Windows.
รายละเอียดการใช้โปรแกรม อ่านและศึกษาว่ามีปัญหาอะไร
จะมาแลกเปลี่ยนในสัปดาห์ถัดไป
การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
ในปัจจุบันการเรียนการสอนในระดับบัณ
SPSSฑิตศึกษาทุกสาขา จะต้องมีการทำวิทยานิพนธ์ หรือปริญญานิพนธ์ หรืองานวิจัย หรือ Thesis หรือ Dissertation เพื่อนำเสนอขอรับปริญญามหาบัณฑิต หรือดุษฎีบัณฑิต ในสถาบันที่ศึกษาอยู่ ตลอดจนการทำวิจัยของนักวิจัยที่อยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ หรือครูที่ทำวิจัยเพื่อขอเลื่อนตำแหน่ง ปรับเงินเดือน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงคุณภาพ และข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงปริมาณ แต่ในการทำวิจัยทางสาขาการวัดผลและวิจัยการศึกษา ข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเชิงปริมาณ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยผู้วิจัยให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องมีอยู่ด้วยกันหลายโปรแกรม ซึ่งโปรแกรม SPSS ก็เป็นโปรแกรมหนึ่งที่เป็นที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากใช้งานได้ง่าย และสามารถหามาใช้ได้ง่าย นอกจากนี้โปรแกรมยังมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา อันจะเห็นได้จาก รุ่นของโปรแกรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบัน SPSS for Windows พัฒนามาถึงรุ่นที่ 13 แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่คู่มือการใช้โปรแกรมจะต้องมีการพัฒนาตามให้ทัน เพื่อเสนอคุณสมบัติต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโปรแกรมและคุณสมบัติใหม่ที่ปรากฏในโปรแกรมรุ่นใหม่ ให้ผู้ใช้ได้นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องกับลักษณะงานวิจัยของตน
เอกสารชุดนี้ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะยังประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านได้บ้างไม่มากก็น้อย หากท่านใดที่อ่านแล้วพบข้อผิดพลาด หรืออยากเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงในครั้งต่อไป ผู้เขียนก็ยินดียิ่ง และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
** เอกสารทั้งหมดนี้บันทึกเป็นนามสกุล .pdf ท่านสามารถเปิดได้โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Reader คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม Adobe Acrobat Reader for PC และ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม Adobe Acrobat Reader for Pocket PC สำหรับเครื่อง Pocket PC
(อัดสำเนาครั้งแรก เดือนสิงหาคม 2541. 238 หน้า ; ปรับปรุงครั้งที่ 2 เดือนตุลาคม 2542. 257 หน้า ; ปรับปรุงครั้งที่ 3 กันยายน 2543. 315 หน้า ; ปรับปรุงครั้งที่ 4 สิงหาคม 2544. 352 หน้า)ปรับปรุงครั้งที่ 5 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2548. 274 หน้า
หน้าปก คำนำ สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ 1. ความหมายของสถิติ 2. ประเภทของสถิติ 3. ระดับการวัด 4. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 5. ตัวแปร 6. ชนิดของตัวแปร 7. สมมติฐาน 8. โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 9. การเตรียมเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล 10. การพิจารณาความมีนัยสำคัญทางสถิติ 11. แฟ้มที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ข้อมูล 12. การใช้ภาษาไทยในโปรแกรม SPSS 10.0 for Windows 13. การนิยามตัวแปร 14. การบันทึกแฟ้มข้อมูล 15. การเปิดแฟ้มข้อมูล 16. การวิเคราะห์ข้อมูล 17. การปิดโปรแกรม
บทที่ 2 การแจกแจงความถี่สถิติพื้นฐาน 1. การแจกแจงความถี่และหาสถิติพื้นฐาน 2. การหาค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปร 3. การหาค่าสถิติพื้นฐานของกลุ่มย่อย 4. การแจกแจงความถี่แบบหลายทาง
บทที่ 3 การจัดกระทำกับข้อมูล 1 การแปลงค่าข้อมูล 2 การเลือกข้อมูล 3 การเพิ่มลดข้อมูล 4 การรับข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลชนิดอื่น
บทที่ 4 การทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่าง : t-test 1. การวิเคราะห์กรณีเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกับประชากร หรือค่าคงที่ในทฤษฎี 2. การทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน 3. การทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน
บทที่ 5 การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
บทที่ 6 การคำนวณหาค่าสหสัมพันธ์ 1. การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย 2. สหสัมพันธ์แยกส่วน
บทที่ 7 การหาคุณภาพเครื่องมือวัด 1. การหาอำนาจจำแนกโดยใช้ t-test 2. ความเชื่อมั่น 3. การหาสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม 4. การวิเคราะห์ข้อสอบเลือกตอบ (p, r, delta) 5. การวิเคราะห์ข้อสอบอัตนัย (p, r)
บทที่ 8 การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง
บทที่ 9 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ 1. การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย 2. การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ 3. การทดสอบนัยสำคัญ 4. วิธีการคัดเลือกตัวแปร 5. SPSS for Windows 6. การคัดเลือกตัวแปรด้วยวิธี Blockwise Selection
บทที่ 10 การทดสอบสถิติไร้พารามิเตอร์ 1. กรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว 2. การทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน 3. การทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน 4. การทดสอบกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน 5. การทดสอบกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน
บทที่ 11 การวิเคราะห์องค์ประกอบ
บทที่ 12 การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นบางประการของสถิติ 1. คะแนนจะต้องมาจากประชากรที่มีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ 2. ความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน 3. ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง 4. ตัวแปรอิสระแต่ละตัวต้องไม่มีความสัมพันธ์กัน
บทที่ 13 การวิเคราะห์รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง 1. รูปแบบสุ่มสมบูรณ์ 2. รูปแบบกลุ่มสุ่ม 3. รูปแบบแฟคทอเรียล 4. Nested Design 5. รูปแบบจัตุรัสลาติน 6. Split-Plot Design 7. รูปแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม 8.รูปแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measure Design)
บทที่ 14 การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรและการวิเคราะห์จำแนกประเภท
บทที่ 15 การจัดกระทำกับตาราง Output ใน SPSS 10.0 for Windows 1. การเลือกรูปแบบตาราง 2. การสลับแถวและสดมภ์ 3. การตัดสดมภ์ที่ไม่ต้องการออก 4. การเปลี่ยนแปลงลักษณะตาราง 5. การจัดตำแหน่งของค่าในตาราง 6. การกำหนดแบบอักษรให้กราฟ 7. การนำตารางผลการวิเคราะห์ไปใส่ในเอกสาร MS Word
บทที่ 16 การวิเคราะห์ด้วยข้อมูลนำเข้าที่อยู่ในรูปของเมตริก
บรรณานุกรม
เคล็ดไม่ลับกับ SPSS for
SPSS
S = Statistical
P = Package
S = Social
S = Scientists
•SPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่จัดทำขึ้นสำหรับงานวิจัย
มีคำสั่งหลากหลายคำสั่ง เป็นโปรแกรมย่อย ๆ อยู่ภายใต้โปรแกรมใหญ่
•ริเริ่มคิดขึ้นที่มหาวิทยาลัย 2 มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาในเวลาไร่เรี่ยกัน คือ
–มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด(Standford University) ในปี พ.ศ. 2508
–มหาวิทยาลัยชิคาโก (Chicago University) ในปี พ.ศ. 2510
•ช่วงแรกใช้กันเฉพาะที่ 2 มหาวิทยาลัยนี้เท่านั้น
•ต่อมา 2 มหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกัน พัฒนาโปรแกรมและนำออกใช้อย่างแพร่หลาย ในปี พ.ศ. 2513
•เมื่อพิมพ์หนังสือ SPSS รุ่นแรกออกเผยแพร่ ทำให้มีการใช้โปรแกรมขยายวงออกไป

•ช่วงแรก SPSS พัฒนาบนเครื่องใหญ่ (Mainframe)
•ได้มีการพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง พิมพ์หนังสือ รุ่น 2 และรุ่น 3 ในปี พ.ศ. 2518 และ 2522

•โปรแกรม SPSS ได้พัฒนาและปรับปรุงแก้ไขมาตลอดจนถึง version 10 (SPSS x)
•ถือได้ว่าเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห็ข้อมูลที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในวงการวิจัย

•ในวงการวิจัยมีโปรแกรม สำเร็จรูปในการวิเคราะห็ข้อมูล ที่ใช้กันอยู่มากมาย อาทิเช่น SAS BMDP MINITAB STATPAX EPI-INFO MICROSTAT SPIDA TSP etc.

•ทำไม SPSS จึงถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ?
•เพราะเกิดจากความร่วมมือของนักวิชาการ 3 สาขา
•นักวิชาการ 3 สาขา ประกอบด้วย
–นักวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social Science Researchers)
–นักสถิติ (Statisticians)
–นักคอมพิวเตอร์ ( Computer Scientists)
•ช่วงที่ใช้โปรแกรม สำหรับเครื่องใหญ่ มักใช้เฉพาะในหน่วยงานเป็นหลัก เช่น ศูนย์คอมพิวเตอร์ สถาบันการศึกษา ชุดที่ใช้แพร่หลายมาก ๆ คือ SPSS x ซึ่งเป็นชุดใหม่ล่าสุด

•เมื่อวิวัฒนาการของการนำเครื่อง Micro Computer เข้ามาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ได้มีการดัดแปลงนำโปรแกรม SPSS มาใช้กับเครื่อง Micro Computer ชื่อว่า SPSS/PC ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2525
•ชุดแรกมีจุดบกพร่อง และมีข้อจำกัดหลายประการ จึงไม่เป็นที่แพร่หลาย

•ได้มีการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข มาเรื่อย ๆ ออกมาในปี พ.ศ. 2528 ชื่อ SPSS/PC+ แก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ทำให้มีการใช้มากขึ้น
•จากนั้นได้มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ เป็น SPSS/PC+ 2, SPSS/PC+ 3, SPSS/PC+ 4, SPSS/PC+ 5….. ซึ่งใช้ระบบ DOS
•ต่อมาได้พัฒนามาใช้กับ Windows เป็น SPSS for Windows และมีหลาย versions จนปัจจุบันเป็น versions 10
•SPSS ที่ใช้กับเครื่อง Micro หรือ Laptop หรือ Notebook ก็ตามมีความสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่

ทำไมจึงได้มีการคิดโปรแกรม SPSS ขึ้นมา
•จุดมุ่งหมายหลัก เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของโปรแกรมเมอร์ในการเขียนโปรแกรมการวิเคราะห์ทางสถิติให้กับนักวิจัย
•เมื่อก่อนนักวิชาการ ครู อาจารย์ ไม่ค่อยได้มีโอกาสทำวิจัย เพราะปัญหาการขาดความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์

ข้อดีของโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
•ง่าย สะดวก ถูก และรวดเร็วในการใช้
•ใช้ได้กับทั้ง Dos และ Windows ได้อย่างเหมาะสม

•หากโปรแกรมมีความผิดพลาด หรือข้อบกพร่อง ผู้ใช้สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาด/บกพร่องได้เอง
•มีรายละเอียดวิธีการใช้ทั้งในลักษณะหนังสือ หรือทางเมนูของโปรแกรมเอง

•สามารถ run โปรแกรมได้หลายรูปแบบ
•สามารถป้อนข้อมูลเข้าโปรแกรมได้เลยโดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมอื่น ๆ

•สามารถใช้ร่วมกับโปรแกรม อื่น ๆ ได้
•มีตัวอย่างข้อมูลให้ทดลองใช้
•มีคำอธิบายอยู่ในโปรแกรม สามารถเปิดดูได้

สิ่งจำเป็นในการใช้โปรแกรม SPSS
•เครื่อง Computer
•โปรแกรม SPSS รุ่นใดก็ได้
•มีข้อมูล

•มีคู่มือลงรหัส
•มีความรู้ ความเข้าใจโปรแกรม และสถิติที่จะใช้
โครงการ
การสำรวจทางสังคม
File : socialdata.sav
ชื่อตัวแปร รหัสที่ใช้
1. SEX 1 = MALE
2 = FEMALE
2. RACE 1 = WHITE
2 = BLACK
3 = OTHER

3. REGION ภูมิภาค
1 = ตะวันออกเฉียงเหนือ
2 = ตะวันออกเฉียงใต้
3 = ตะวันตก

4. HAPPY ความสุขโดยทั่ว ๆ ไป
1 = สุขมาก
2 = สุขพอประมาณ
3 = ไม่ค่อยสุขนัก
8 = ไม่ทราบ
9 = ไม่ตอบ

5. LIFE ความตื่นเต้นในชีวิต
1 = ตื่นเต้น
2 = ปกติ
3 = น่าเบื่อ
8 = ไม่ทราบ
9 = ไม่ตอบ

6. SIBS จำนวนพี่น้อง
ลงตามจำนวนจริง 98 = ไม่ทราบ
99 = ไม่ตอบ

7. CHILDS จำนวนบุตร
ลงตามจำนวนจริง
8 = 8 คนขึ้นไป
9 = ไม่ทราบ
8. AGE อายุของผู้ตอบ
ลงตามอายุจริง 98 ไม่ทราบ
99 ไม่ตอบ

9. EDUC จำนวนปีการศึกษาสูงสุดของ ผู้ตอบ
ลงตามจำนวนจริง
97 มขข.
98 ไม่ทราบ
99 ไม่ตอบ

10. PAEDUC จำนวนปีการศึกษา
สูงสุดของบิดา
ลงตามจำนวนจริง 97 มขข. 98 ไม่ทราบ 99 ไม่ตอบ

11. MAEDUC จำนวนปีการศึกษา
สูงสุดของมารดา
ลงตามจำนวนจริง 97 มขข.
98 ไม่ทราบ
99 ไม่ตอบ

•ยังมีข้อมูลอีกมาก
•ในที่นี้นำเสนอโดยสังเขปเท่านั้น
•ดูตัวข้อมูลจริงในโปรแกรม SPSS for Windows

แสดงวิธีการเข้าโปรแกรม

การใช้โปรแกรม SPSS
•คอยจนเครื่องเช็คระบบเรียบร้อย
•หน้าจอจะมี icon ต่าง ๆ หลากหลายตามโปรแกรมที่เรามี
•ไปที่ icon SPSSเริ่มจากการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
•คลิกที่ icon SPSS 2 ครั้ง
•เราจะเข้าไปในเมนู SPSS

ใช้เมาส์คลิก 2 ครั้งที่ ICON SPSS

เมนูหน้าแรก
File Edit View Data Transform Analyze Graph Utility Window Help

•ตั้งสติ ทำความเข้าใจกับหน้าจอที่ปรากฎอยู่ตรงหน้า
•ใจเย็น ๆ ไม่มีอะไรที่น่ากลัว
•พิจารณาดูเมนูแต่ละส่วน
•อาจศึกษาได้จากหนังสือ
•อาจศึกษาจากหน้าจอได้เลย
•ถือว่าทุกท่านมีพื้นฐานเท่ากัน คือไม่รู้เลย
•ถือว่า ความรู้เท่ากับ 0 (ศูนย์)
•เราจะเข้าโปรแกรม SPSS อย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป
•ทุกอย่างเป็นเรื่องง่ายมาก
•ทุกคนสามารถใช้เป็นแน่นอน ขอให้ใจเย็น ๆ
•เนื่องจากเครื่องไม่มีเพียงพอให้พวกเราทุกคนได้ใช้ในวันนี้ ฝากให้แต่ละสาขาไปดำเนินการต่อ

การ Run Program เบื้องต้น
1. Frequencies
2. Descriptives
3. Crosstab
4. Means

•FREQUENCIES(ใช้ตัวแปรทีละตัว)
•ข้อมูล
–ระดับกลุ่ม
–ระดับอันดับที่ไม่มากจนเกินไป

•DESCRIPTIVE (ใช้ตัวแปรทีละตัว)
•ข้อมูล
–ระดับช่วง
–ระดับอัตราส่วน

การจะใช้สถิติใดขึ้นกับระดับของข้อมูล
•ตารางไขว้ (CROSSTAB) - ตัวแปร 2 ตัว
•ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
•ระดับตัวแปร (ทั้งตัวแปรตามและอิสระ)
–ตัวแปรระดับกลุ่ม
–ตัวแปรระดับอันดับที่ไม่มากเกินไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น