ใบงานที่ 6 ให้นักศึกษา เสนอวิธีการใช้ http://www.google.co.th/
1.ใช้ทำอะไรได้บ้าง
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตคงจะไม่อาจมองข้ามเสิร์ชเอนจิน ที่มีชื่อว่า Google ไปได้ แต่ ผู้ใช้ส่วน ใหญ่มักจะรู้จักเสิร์ชเอนจินตัวนี้เพียงแค่ผิวเผิน เท่านั้น CHIP จะแสดงให้คุณเห็นถึงอีกด้านหนึ่ง ของ Google ที่คุณไม่เคยรู้จัก ในยุคที่เศรษฐกิจทรุดตัวลงเป็นผลให้ภาคธุรกิจหลายต่อหลายรายต้องพลิกผันจาก จุดสูงสุดมาเข้าสู่ช่วงวิกฤติของการเอาตัวรอดในช่วงมรสุมดังกล่าว แต่หนึ่งในไม่กี่รายที่ไม่ประสบ ปัญหาดังกล่าวได้แก่ Google จากจุดเริ่มต้นที่เป็นเพียงแค่โปรเจ็กต์เล็กๆ ในมหาวิทยาลัยเมื่อ 5 ปีก่อน ปัจจุบัน Google กลายเป็นเสิร์ชเอนจินที่ได้ รับความนิยมสูงสุดชนิดที่เรียกว่าทิ้งคู่แข่งแบบห่างชั้น จากการยืนยันของ Nielsen Netratings โดยใช้การสำรวจจากหน้าอินเทอร์เน็ตที่มีความสำคัญสูงสุด 5 อันดับแรก เฉพาะในประเทศเยอรมนีประเทศเดียวก็มีผู้ใช้บริการ Google ถึง 14 ล้านคนต่อวันเคล็ดลับเด็ดๆ สำหรับ Googleแทบ จะไม่มีใครที่ใช้งาน Google ได้อย่างเต็มความสามารถ เช่น ความสามารถในการค้นหาที่ละเอียดยิ่งขึ้นโดยการกำหนดตัวแปรต่างๆ ในการค้นหา ยิ่งไปกว่านั้นคือ Google สามารถแปลหน้าเว็บไซต์ได้ แสดงราคาหุ้นได้ และยังสามารถคำนวณโจทย์คณิตศาสตร์ได้อีกด้วย หน้าเว็บไซต์ที่ดูเรียบง่ายของ Google อาจ จะทำให้คุณคิดไม่ถึงว่าเบื้องหลังหน้าดังกล่าวมี ฟังก์ชันที่ถูกซ่อนเอาไว้มากมายเพียงใด• ค้นหาโดยระบุคำสั่งพิเศษ คุณ อาจเคยพบเห็นอยู่บ่อยๆ ว่า ในการค้นหาข้อมูลทั่วไปมักจะมีรายการของผลการค้นหาที่ไม่มีประโยชน์ติดมา ด้วยเสมอ ซึ่งคุณสามารถที่จะลดจำนวนข้อมูลที่พบได้โดยใช้การค้นหาแบบ Advanced Search (ค้นหาแบบละเอียด) เพื่อบอก ให้ Google จำกัดขอบเขตการค้นหาให้เหลือเฉพาะหน้าเว็บไซต์ที่ผ่านการตรวจสอบจาก Google ในช่วง 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 12 เดือน ที่ผ่านมาเท่านั้น นอกจากนี้แล้วคุณยังกำหนดรูปแบบเอกสารของผลการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจงได้อีก ด้วย เช่น ต้องการผลเป็นไฟล์ PDF หรือไฟล์ในรูปแบบของ Office และจำกัดการค้นหาหน้าให้อยู่ในประเภทของเว็บไซต์หรือโดเมนที่ต้องการเท่า นั้นได้เช่นกัน ซึ่งคุณสามารตรวจสอบ ชนิดของไฟล์ที่ Google สามารถค้นหาให้ได้ที่หน้าเว็บไซต์ www.google.com/help/faq_filetypes.html หรือคุณต้องการให้ Google ช่วยค้นหาสิ่งที่คุณต้องการเป็นพิเศษ ดังเช่น รูปภาพต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน • ค้นด้วยคำที่มีความหมายเหมือนกัน บ่อย ครั้งที่คำจำกัดความตัวหนึ่งจะให้ผลการค้นหาที่ดีกว่าคำอีกคำหนึ่ง ทั้งๆ ที่ความหมาย ของคำทั้งสองนั้นเหมือนหรือใกล้เคียงกัน แต่ไม่ จำเป็นที่คุณจะต้องมานั่งปวดหัวเพื่อคิดหาศัพท์ คำอื่นมาทดแทนคำที่คุณต้องการ เพราะคุณสามารถปล่อยให้ Google ช่วยคิดแทนคุณได้ โดยให้คุณใส่เครื่องหมาย Tilde (~) หน้าคำที่ต้องการ ค้นหาโดยไม่ต้องเว้นวรรค Google จะค้นหาคำ Synonym ของคำที่คุณค้นหาให้ด้วย• ใช้ Google ช่วยแปลแม้ ว่า Google จะไม่สามารถทำลายกำแพงในเรื่องของข้อจำกัดด้านภาษาได้ แต่ก็สามารถช่วยให้คุณทำงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ให้คุณคลิกที่ Language Tools (เครื่องมือเกี่ยวกับภาษา) ที่หน้า แรกของ Google เพื่อเปิดการทำงานของตัวแปล ภาษา ซึ่งคุณสามารถพิมพ์ข้อความเข้าไปเพื่อให้ Google แปลข้อความดังกล่าวให้คุณได้หลากหลายภาษาด้วยกัน เช่น แปลจากภาษาเยอรมนี เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส หรือแปลข้อความจากภาษาอังกฤษไปเป็นภาษาสเปน, โปรตุเกสหรือภาษาอิตาลี และอีกหลายภาษา แต่น่าเสียดายที่ยังไม่มีบริการสำหรับแปลภาษาไทยความ สามารถที่ยังโดดเด่นไปกว่านั้นก็คือ Google สามารถแปลเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้ โดยคุณสามารถใส่ชื่อ URL ที่คุณต้อง การให้ Google แปลลงในกรอบ Translate the Website ในหน้าของ Language Tools หรือคลิกที่ลิงก์ Translate this Website ของหน้าเว็บไซต์ที่ Google ได้ค้นหาออกมาแล้ว Google จะใช้โปรแกรมในการแปลออกมา ซึ่งบ่อยครั้งที่ข้อความที่แปลออกมาจะฟังดูตลกหรือฟังไม่รื่นหูไปxxxง แต่หากคุณต้องการผลการแปลที่ดีกว่านี้ควรเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือที่เรียกว่า �BabelfishŽ (http://babelfish.altavista.com) แทน ซึ่งตัวแปลภาษา Altavista ตัวนี้ใช้โปรแกรมในการแปลของ Systran ที่ค่อนข้างใหม่กว่าของ Google และมีประสิทธิภาพในการแปลที่ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด ข้อดีอีกข้อหนึ่งก็คือ Babelfish สามารถเข้าใจได้ หลายภาษามากกว่า Google และสามารถแปล ภาษาญี่ปุ่น, เกาหลีและจีนไปเป็นภาษาอังกฤษ ได้อีกด้วย• ค้นหาเฉพาะกลุ่มโดย แท้จริงแล้วต้องถือว่าประสิทธิภาพของ เสิร์ชเอนจินทั่วไปไม่ดีเท่าที่ควรเพราะข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับคำที่คุณค้น หาจะถูกรวบรวมเข้า ไว้ด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะมากเกินความจำเป็นและไม่เกี่ยวข้องกับที่คุณต้องการ วิธีที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้คือค้นหาคำที่ต้องการโดยกำหนด ขอบเขตของหัวข้อเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะทำให้การค้นหาถูกจำกัดวงให้แคบลง โดย Google ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในส่วนที่เรียกว่า Special Google Searches ซึ่งในขณะนี้มีหัวข้อให้เลือกใน การค้นหาอยู่ 6 หัวข้อ ดังเช่น การค้นหาจากหน้าเว็บไซต์ของ US (เว็บไซต์ที่มีโดเมนเป็น .us, .gov และ .mil) หรือการค้นหาเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวกับไมโครซอฟท์ ลินุกซ์ ยูนิกซ์ หรือแอปเปิลก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน นอกเหนือไปจากนั้นยังมี University Search ที่ ช่วยค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับสถานศึกษาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีกว่า 1,000 หน้าเว็บไซต์ให้เลือกการค้นหาโดยใช้ Special Google Searches ดังกล่าวนี้จะช่วยประหยัดเวลาให้คุณได้เป็นอย่างมาก เช่น หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ DVD Writer สำหรับเครื่อง Apple แล้วคุณก็สามารถพิมพ์คำว่า Apple DVD Writer ลงไปแล้วทำการค้นหา ตามปกติคุณจะได้รับลิสต์รายการแสดงผลการค้นหากว่า 41,000 หน้าซึ่งประกอบด้วยหน้าเว็บไซต์โฆษณาขายสินค้าดังกล่าวนับไม่ถ้วน แต่หากคุณใช้การค้นหาผ่าน Special Google Searches โดยใช้เพียงคำว่า DVD-Writer ในกลุ่มของแอปเปิลคุณจะได้ ผลการค้นหาเพียง 1,500 หน้าเท่านั้น ซึ่งจะประกอบไปด้วยข่าวคราวความเคลื่อนไหว ทิป ผลการทดสอบ รวมไปถึงส่วนแบ่งตลาด เท่านั้นคุณสามารถใช้บริการ Special Google Searches ได้ตามลิงก์ www.google.com/options/special searches.html• Google ToolbarGoogle Toolbar เป็นปลั๊กอินตัวหนึ่งสำหรับเว็บบราวเซอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้งาน Google ได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปที่หน้าโฮมเพจของ Google ก่อน ปัจจุบัน Google Toolbar ถูกพัฒนา ขึ้นมาถึงเวอร์ชันที่ 2 แล้ว ข้อดีของ Google Toolbar คือความสามารถพิเศษในการแสดงระดับความนิยม (Page Rank) ของหน้าอินเทอร์เน็ตหน้าต่างๆ ที่คุณกำลังเปิดใช้งานอยู่ในขณะ นั้นหรือหากคุณไม่ต้องการก็สามารถติดตั้งทูลบาร์ดังกล่าวโดยไม่ติดตั้ง Page Rank Bar ลงไปด้วยก็ได้ ซึ่งทูลบาร์ที่ว่านี้สามารถทำงานได้เฉพาะใน Internet Explorer 5.0 ขึ้นไปเท่านั้น แต่ หากคุณใช้ Netscape หรือ Internet Explorer เวอร์ชันก่อนหน้านี้คุณก็สามารถติดตั้ง Browser Button ของ Google ซึ่งจะมีฟังก์ชันบางตัวของ Google Toolbar อยู่เข้าไปในบราวเซอร์เพื่อใช้แทน ได้ (www.google.com/options/buttons.html) และพิเศษสำหรับผู้ใช้เว็บบราวเซอร์ Mozilla โดยเฉพาะ ในหน้าอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์ http://google barl10n.mozdev.org/installation.html คุณสามารถพบกับทูลบาร์ของ Google ที่มีชื่อเรียกว่า Googlebar ซึ่งถูกสร้างมาเป็นพิเศษสำหรับใช้กับ Mozilla โดยเฉพาะด้วย• ใช้ Google ช่วยในการคำนวณนอก เหนือจากเป็นเสิร์ชเอนจินแล้ว Google ยังกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของเครื่องคิดเลขที่คุณเคยใช้งานอีกด้วย สิ่งหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครรู้ คือ ฟังก์ชันในการคำนวณของ Google จะช่วยในการค้นหาผลลัพธ์ของสมการทางคณิตศาสตร์ให้ด้วย หากคุณพิมพ์โจทย์ปัญหา เช่น 365+12*8 ลงในช่องสำหรับการป้อนข้อมูลการค้นหาตามปกติแล้วเริ่มทำการค้นหาคุณจะได้ ผลลัพธ์เท่ากับ 461 แทนที่จะได้รายการแสดงหน้าอินเทอร์เน็ตที่ค้นพบ นอกจากสมการง่ายๆ ดังกล่าว Google ยังสามารถคำนวณสมการที่ซับซ้อนยิ่งกว่านั้นได้อีกด้วย เช่น การพิมพ์คำ ว่า sqr จะเป็นการคำนวณค่ารากที่สองของเลขที่อยู่ถัดมา หรือเมื่อคุณต้องการคำนวณค่า 252 (25 ยกกำลัง 2) ก็สามารถทำได้โดยพิมพ์ว่า 25^2 ลงไป แม้กระทั่งฟังก์ชันตรีโกณมิติก็สามารถคำนวณได้โดยใช้ตัวย่อ sin, cos และ tan หรือการคำนวณฟังก์ชันลอกการิทึมโดยใช้เครื่องหมาย ln, lg และ lb ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติและความสามารถของ Google Calculator นี้คุณสามารถดู ได้ที่หน้า www.google.com/help/calculator.htmlนอก จากนี้แล้วการได้ลองเล่นเองก็น่าสนุกอยู่ไม่น้อย ดังเช่นที่ทีมงานได้ค้นพบบางสิ่งที่ ยังไม่ได้มีการบันทึกไว้ในหน้าเว็บไซต์ดังกล่าว คือ Google รู้จักค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์หลายต่อหลายตัว เช่น ค่าพาย (ฆ), ค่าความเร็วแสง (c), ค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลก (G) และอื่นๆ อีกมาก หากคุณใส่สัญลักษณ์สากลของค่าคงที่ลงไป Google จะแสดงค่าดังกล่าวออกมาเป็นตัวเลข แต่คุณก็สามารถใช้ค่าคงที่ในสมการต่างๆ ได้เช่นกันนอกเหนือไปจากการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน Google ก็สามารถแสดงการคำนวณพื้นฐาน ในเรื่องการเปลี่ยนหน่วยให้คุณได้ เช่น เปลี่ยนหน่วยไมล์ (Miles) หรือนิ้ว (Inches) เป็นกิโลเมตร, เมตรหรือเซนติเมตร หรือเปลี่ยนจากแคลอรีเป็นกิโลจูล หรือจากกิโลกรัมเป็นปอนด์ก็ได้เช่นเดียวกัน เพียงแค่คุณพิมพ์ง่ายๆ ดังเช่นว่า "25 miles in kilometer" หรือ "50 pounds in kilogram" ซึ่งการคำนวณดังที่กล่าวมาแล้วนี้สามารถทำ ได้ในหน้าเว็บไซต์ของ Google ทุกๆ หน้า เพียงแต่คุณต้องพิมพ์ข้อความทั้งหมดในรูปแบบของภาษาอังกฤษ• ชอปปิ้งด้วย Google : FroogleGoogle มีบริการพิเศษสำหรับนักชอปออนไลน์โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกบริการนี้กันว่า Froogle ซึ่งเป็นการนำคำว่า Google มาผสมกับคำว่า �FrugalŽ ซึ่งแปลว่าประหยัด โดยเครือข่ายของ Froogle จะมีความสามารถในการค้นหาสินค้าต่างๆ ในร้านค้าออนไลน์โดยเฉพาะ (http://froogle.goo gle.com) การค้นหาสามารถทำได้โดยใส่ชื่อผลิตภัณฑ์ที่คุณต้องการโดยตรง (เช่น "Panasonic DVD S75") หรือหากคุณยังไม่ได้ตัดสินใจชี้ชัดลงไป ก็สามารถดูไปเรื่อยๆ และทำการค้นหาใน แคตาล็อกของแต่ละกลุ่มสินค้า เช่น "Art & Entertainment", "Home & Garden" หรือ "Toys & Games" และคุณสามารถเรียงผลการค้นหาที่ได้จากทั้งสองวิธีนี้ตามราคา หรือเรียงเว็บไซต์ตามจำนวนสินค้าที่เสนอ แต่ปัจจุบัน Froogle ยังคงอยู่เพียงแค่ช่วงเวอร์ชัน Beta ของการพัฒนาเท่านั้น อีกทั้งยังมีเฉพาะเวอร์ชันภาษาอังกฤษเท่านั้น ยกเว้นผลการค้นหาที่เป็นสากลนั่น คือ Froogle สามารถหาหน้าเว็บไซต์ที่ให้บริการดังกล่าวได้ทั่วโลกเหมือนการ Search ทั่วไป• ตรวจสอบราคาหุ้นGoogle.com สามารถแสดงให้คุณทราบถึงสถานภาพของหุ้นต่างๆ ที่คุณต้องการทราบได้ โดยมีข้อแม้เพียงข้อเดียวคือ หุ้นของบริษัทดังกล่าวต้อง อยู่ในตลาดหุ้นของอเมริกาวิธีการก็คือ ให้คุณใส่ชื่อของบริษัทที่คุณต้องการสำรวจราคาหุ้นลงในช่องสำหรับป้อนข้อมูล การค้นหา เช่น หากคุณพิมพ์คำว่า Microsoft ลงไป Google จะแสดงที่บรรทัดสุดท้ายของผลการค้นหาว่า "Stock Quotes: MSFT" เมื่อคุณคลิกที่บรรทัดดังกล่าว จะเป็นการนำคุณไปสู่หน้า Yahoo Finance Site ซึ่งมีข้อมูลหุ้นขณะปัจจุบันของไมโครซอฟท์แสดงอยู่ หรือในกรณีที่คุณรู้ชื่อย่อของแต่ละบริษัท (เช่น Microsoft ใช้ MSFT) ก็เพียงพอเพราะคุณสามารถเลือกที่สัญลักษณ์ "Stock Quote" ซึ่งอยู่บริเวณด้านบนของรายการต่างๆ ได้โดยตรง เพื่อนำคุณเข้าไปสู่หน้า Yahoo-Finance ได้เช่นเดียวกัน• คำตอบจาก Googleมี ไม่กี่ครั้งที่ Google ไม่สามารถค้นหาข้อมูลให้คุณได้ตามต้องการ แต่บ่อยครั้งที่ข้อมูลที่ได้ ไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของคุณ นั่นก็เพราะว่า Google เป็นเพียงแค่เครื่องจักรธรรมดาเท่านั้น ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าข้อมูลใดคือ ข้อมูลที่คุณต้องการ ดังนั้นจึงได้มีการออกแบบเครื่องจักรมีชีวิตขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิด ขึ้น ซึ่งถูกเรียกว่า Human Search Machine โดยคุณสามารถใช้บริการนี้ได้ที่หน้า http://answers. google.com ซึ่งมีวิธีดำเนินการคือ หากคุณมีคำถามซึ่งคุณพร้อมที่จะจ่ายเงินเป็นค่าคำตอบตั้งแต่ 2 ถึง 200 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาแล้ว ให้เรียบเรียงคำถามของคุณและรอให้ Google หาผู้เชี่ยวชาญที่สามารถตอบคำถามของคุณได้ เมื่อคุณได้รับคำตอบคุณก็จะถูกเก็บเงินตามราคาที่คุณได้ตั้งเอาไว้ ในการใช้บริการดังกล่าว จำเป็นที่คุณจะต้องลงทะเบียนด้วยอีเมล์ของคุณ ส่วนการจ่ายค่าบริการจะต้องจ่ายผ่านทางบัตรเครดิต จุดเด่นของบริการนี้คือคำถามทั้งหมดที่ถูกตอบไปเรียบร้อยแล้วจะถูกเก็บเอา ไว้ ซึ่งสมาชิกที่ลงทะเบียนทั้งหมดจะสามารถดูคำตอบเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องเสีย เงินซ้ำอีก ถ้าคุณโชคดีอาจจะมีคำตอบอื่นที่คุณต้องการรวมอยู่ในนั้นด้วยก็ได้
2.การค้นหาข้อมูลขั้นสูงมีวิธีการอย่างไร
การใช้งาน google ขั้นสูง ในการค้นหาข้อมูล
ภาพจาก google.com
1.Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +x4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"7. Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเว็บ)8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือAdobe Portable Document Format (นามสกุลของไฟล์ pdf)Adobe PostScript (นามสกุลของไฟล์ ps)Lotus 1-2-3 (นามสกุลของไฟล์ wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)Lotus WordPro (นามสกุลของไฟล์ lwp)MacWrite (นามสกุลของไฟล์ mw)Microsoft Excel (นามสกุลของไฟล์ xls)Microsoft PowerPoint (นามสกุลของไฟล์ ppt)Microsoft Word (นามสกุลของไฟล์ doc)Microsoft Works (นามสกุลของไฟล์ wks, wps, wdb)Microsoft Write (นามสกุลของไฟล์ wri)Rich Text Format (นามสกุลของไฟล์ rtf)Text (นามสกุลของไฟล์ ans หรือ txt)วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)9. Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)10.Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword11.Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น link:www.google.com แต่คุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้12.Google สามารถค้นหาเว็บที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu13.ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ ใช่เลย! เจอแน่ๆ ใน Google ไทย14.Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave Palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ15.Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์first name (or first initial), last name, city (state is optional)first name (or first initial), last name, statefirst name (or first initial), last name, area codefirst name (or first initial), last name, zip codephone number, including area codelast name, city, statelast name, zip codeแล้วแต่ว่าคุณจะใช้แบบไหน16.Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com)17.Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือก ใน Google ไทย ที่มา: วิชาการ.คอม
google_protectAndRun("ads_core.google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
3.Webที่ใช้ค้นหาข้อมูล นอกจาก google แล้วมีอะไรอีก บอกชื่อ Web
การค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine
วิธีการใช้งาน การค้นหาข้อมูลใน ibond Website
วิธีการใช้งาน การค้นหาข้อมูลใน ibond Website
www.energy-based.nrct.go.th/ - แคช - ใกล้เคียง -
การค้นข้อมูลเกี่ยวกับ สัตวแพทย์ ในโลกไซเบอร์
ผู้รักสัตว์เลี้ยง. เวปไซด์หนูเควี ชื่อนายขนุน · บ้านไซบีเรียนฮัสกี้ ... ถึงแม้ว่า Pubmed จะมีคนใช้มาก แต่ก็มีคนจำนวนไม่มาก ที่รู้การใช้ อย่าง ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ การใช้ Pubmed ... ฐานข้อมูล วิทยานิพนธ์ในประเทศไทย ไปที่เว็บนี้ครับ ...www.thaivet.org/wizContent.asp?wizConID=83&txtmMenu_ID=7 -www.windowsitpro.net/main/index.php/it.../604--cloud-computing GIS2ME website » Blog Archive » บทที่ 5 : 5.6 การพัฒนาฐานข้อมูลของ ...
ในองค์กรที่มีการใช้งานฐานข้อมูลโดยทั่วไป การจะใช้งานฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรง .... ด้วยเพื่อประโยชน์ในการค้นหาข้อมูลในอดีตได้ง่ายขึ้น ... 2006–2008 GIS2ME website — Sitemap — Shopping Mall Theme Designed by Jewelry Stores. ...
www.saensuk.net/ - แคช - ใกล้เคียง -ยินดีต้อนรับสู่ .. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางราชการ :: สำนักงาน ...
๑) ผู้ใช้บริการเข้ามาตรวจสอบข้อมูลในศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ ... ๓) ถ้าต้องการความช่วยเหลือในด้านการค้นหาข้อมูลข่าวสาร ... ๔) ทางอินเทอร์เน็ต ขอโดยเข้าไปกรอกแบบฟอร์มการขอข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่เว็บไชต์ http://www.parliament.go.th/gennews ซึ่งเป็นเวปไซด์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานเลขาธิการสภา ...www.parliament.go.th/parcy/division/gennews_index.php?... -Public Law Net : เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย
ในการสนับสนุนด้านข้อมูลซึ่งต้องขอขอบคุณไว้อีกครั้งหนึ่ง ณ ที่นี้ ... website เป็นอย่างไรบ้าง ทุกคนก็รู้ว่าผมทำ website และทุกคนก็ใช้ข้อมูล ...www.pub-law.net/publaw/view.asp?PublawIDs=169 - แคช - ใกล้เคียง -
4.ให้กำหนดหมวดหมู่ในการค้นหาโดยใช้ google
Email This Post
Print This Post Sun, Oct 11 2009 0 Comments
เจาะลึกสถิติการค้นหาข้อมูลบนกูเกิลในเวอร์ชั่นภาษาไทย (Google Insights for Search)
By: admin
กรุงเทพฯ, ประเทศไทย,ตุลาคม 2552 – เครื่องมือเจาะลึกการค้นหาของกูเกิล (Google Insights for Search) ซึ่งช่วยให้ทุกๆ คนเห็นแนวโน้มการค้นหาข้อมูลโดยแยกย่อยตามภูมิภาคและช่วงเวลา พร้อมใช้งานในเวอร์ชั่นภาษาไทยแล้ววันนี้ โดยคุณจะสามารถใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อเปรียบเทียบระดับความสนใจสำหรับข้อความค้นหาและเพื่อทราบว่าอะไรกำลังอยู่ในความสนใจของการค้นหาในประเทศไทยและประเทศทั่วโลก
ทดลองพิมพ์คำค้นหาเพื่อดูเทรนด์การค้นหาในระยะเวลาที่ผ่านมา รวมถึงคำค้นหายอดนิยมและคำที่เป็นดาวรุ่งพุ่งแรง คุณสามารถเปรียบเทียบแนวโน้มการค้นหาข้อมูลหลายตัวแบบปฏิสัมพันธ์ หรือต่างสถานที่หรือการค้นหาในช่วงเวลาที่ต่างกันผ่านช่องทางการค้นหาที่มากมาย หากคุณต้องการดูว่าข่าว กระแส หรือแนวโน้มอะไรคือสิ่งที่กำลังมาแรงในใจของผู้คน เพียงแค่ปล่อยช่อง “คำค้นหา” ให้ว่างไว้และเลือกช่วงเวลาที่ต้องการเท่านั้น
สำหรับคำค้นหาบางคำ คุณสามารถเห็นแนวโน้มการค้นหาในอนาคต ซึ่งคำนวณจากแนวโน้มและรูปแบบการค้นหาในอดีต นอกจากนี้ คุณสามารถเห็นความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเปลี่ยนไปในช่วงเวลาใดๆ โดยดูจากคุณลักษณะแผนที่ ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในสถานที่ต่างๆ
ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ลงโฆษณาที่ต้องการขยายแคมเปญการตลาด ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ที่ต้องการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ หรือเป็นผู้ใช้คนหนึ่งที่ต้องการเข้ามาดูข้อมูลความนิยมทั่วไปเท่านั้น เครื่องมือเจาะลึกการค้นหาของกูเกิลจะช่วยให้คุณค้นพบคำตอบ โดยคุณจะสามารถ:
• ดูแนวโน้มการค้นหาตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา – ตรวจสอบว่าผู้ใช้มีความสนใจเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไรบ้างสำหรับแต่ละหัวข้อ โดยคุณสามารถพิมพ์คีย์เวิร์ดได้มากกว่าหนึ่งคำ คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เพื่อเปรียบเทียบความนิยมของคำค้นหา
• ความสนใจระดับภูมิภาค – ดูว่าประเทศ เมือง และภูมิภาคใดให้ความสนใจในหัวข้อนั้นๆ มากที่สุด โดยคุณจะต้องคลิกที่บางส่วนของแผนที่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับปริมาณการค้นหาในแต่ละภูมิภาค
• คำค้นหายอดนิยมและคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง – ตรวจสอบว่าคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับคุณคำใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และคำใดกำลังมาแรง
• ดูการคาดการณ์ความสนใจในอนาคตสำหรับข้อความค้นหาที่ระบุ – ฟีเจอร์การคาดการณ์จะช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบแนวโน้มการค้นหาในอนาคตสำหรับข้อความค้นหาต่างๆ
• ดูแผนที่ประกอบ – ตรวจสอบระดับความสนใจทั่วโลกสำหรับแต่ละหัวข้อซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา
• ใส่ข้อมูลเปรียบเทียบไว้บนเว็บไซต์ของคุณ – คุณสามารถใส่กราฟที่สร้างขึ้นจากเครื่องมือเจาะลึกการค้นหาของกูเกิลไว้บนเว็บไซต์ของคุณ
• ปรับแต่งการค้นหาแบบเจาะลึกทั่วโลกโดยแยกตามหมวดหมู่ – ตรวจสอบข้อความที่มียอดการค้นหาสูงสุดในแต่ละหมวดหมู่โดยค้นหาคำที่เกี่ยวข้อง เช่น ยอดการค้นหาที่เพิ่มขึ้นสำหรับคำว่า ‘ดารา’ หรือข้อความค้นหายอดนิยมในหมวดหมู่ ‘ยี่ห้อรถ’ นอกจากนี้คุณยังสามารถตรวจสอบแนวโน้มทั่วไปในแต่ละหมวดหมู่โดยไม่ระบุข้อความค้นหา ซึ่งจะแสดงภาพรวมของแนวโน้มในหมวดหมู่นั้นๆ
“เครื่องมือเจาะลึกการค้นหาช่วยให้เรามองเห็นสภาพความเป็นไปในแต่ละช่วงเวลา” คุณพรทิพย์ กองชุน ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของกูเกิล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว “การรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกกำลังมองหาจะช่วยให้เราเข้าใจว่าผู้คนในแต่ละภูมิภาคให้ความสนใจในเรื่องใดเป็นพิเศษ และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มกว้างๆ และแนวโน้มที่เฉพาะเจาะจงก็อาจเป็นประโยชน์ต่อบริษัทโฆษณา นักการตลาด นักวิจัยและคนอื่นๆ ที่สนใจอยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก”
ลองใช้เครื่องมือเจาะลึกการค้นหาของกูเกิลได้ที่ http://www.google.co.th/insights/search/
เจาะลึกสถิติการค้นหาข้อมูลบนกูเกิลในเวอร์ชั่นภาษาไทย (Google Insights for Search)
เกี่ยวกับบริษัท กูเกิล อิงก์
นวัตกรรมเทคโนโลยีการค้นหาของกูเกิลเชื่อมโยงผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลกเข้ากับข้อมูลต่างๆ ในแต่ละวัน กูเกิลก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 โดยนักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แลร์รี่ เพจ และเซอร์เกย์ บริน และปัจจุบัน กูเกิลเป็นทรัพย์สินบนเว็บที่มีมูลค่าสูงสุดในตลาดสำคัญๆ ทุกตลาดทั่วโลก โปรแกรมการโฆษณาแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายของกูเกิลช่วยให้องค์กรธุรกิจทุกขนาดได้รับผลตอบแทนทางธุรกิจที่สามารถวัดได้ ทั้งยังช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานเว็บโดยรวมอีกด้วย กูเกิลมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ซิลิคอนวัลเลย์ และมีสำนักงานสาขาในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชม http://www.google.com
กูเกิลและ Google AdWords เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทกูเกิล ชื่อบริษัทและชื่อผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งหมดเป็นเครื่องหมายของบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่Google Southeast AsiaTherese Lim+65-8216-4686thereselim@google.com
สุชาย เฉลิมธนศักดิ์พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัดโทรศัพท์: (0) 2971 3711อีเมล: suchai@pc-a.co.th
ที่มา:พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
December 10, 2009 -- กูเกิลเผยสถิติคำค้นหายอดนิยมของไทยประจำปี 2552 (7)
December 10, 2009 -- ข้อมูลไซท์ไกสต์ (Zeitgeist)ประจำปีจากกูเกิล (0)
November 28, 2009 -- กูเกิลรายงานสภาพการจราจรในกรุงเทพฯ พร้อมข้อมูลระบบขนส่งมวลชนบน Google แผนที่ ครั้งแรกในเมืองไทย เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง (0)
November 3, 2009 -- กูเกิลร่วมฉลองเทศกาลลอยกระทงไปพร้อมกับคนไทย กับโลโก้ ดูเดิล (Google Doodle) (0)
October 11, 2009 -- เครื่องมือเจาะลึกการค้นหาของกูเกิลในเวอร์ชั่นภาษาไทย (1)
ต้นกำเนิดกูเกิล
ป้ายต้อนรับหน้าบริษัทกูเกิลที่ กูเกิลเพล็กซ์
กูเกิลเริ่มก่อตั้งเมื่อ มกราคม พ.ศ. 2539 จากโครงงานวิจัยสำหรับดุษฎีนิพนธ์ของ แลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน นักศึกษามหาวิทยาลัยปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[5] จากสมมุติฐานของเสิร์ชเอนจินที่สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของของเว็บไซต์ มาจัดอันดับการค้นหาที่เรียกว่าเพจแรงก์ โดยชื่อเสิร์ชเอนจินที่ตั้งมาในตอนนั้นชื่อว่า "แบ็กรับ" (BackRub) ตามความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลการลิงก์ย้อนกลับไป (back links) เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของแต่ละเว็บไซต์[6] โดยเว็บไซต์ที่มีเว็บไซต์อื่นลิงก์เข้ามาหามากที่สุด จะเป็นเว็บไซต์ที่มีความสำคัญสูงสุด และจะถูกจัดอันดับไว้ดีกว่า โดยทั้งคู่ได้ทดสอบเสิร์ชเอนจิน โดยใช้เซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัยสแตนพอร์ดในชื่อโดเมนว่า google.stanford.edu[7] และต่อมาได้จดทะเบียนบริษัทกูเกิล (Google Inc.) ในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยใช้โรงจอดรถของเพื่อนที่เมืองเมนโรพาร์กเป็นสำนักงาน[1] โดยในขณะนั้นมีพนักงาน 4 คนซึ่งรวมบรินและเพจ และชื่อโดเมน google.com ได้ถูกจดทะเบียนเมื่อวันที่ 15 กันยายน ในขณะเดียวกันทั้งคู่ได้ลาพักการเรียน และใช้เวลาในการพัฒนาหาเงินทุนพัฒนาจากครอบครัว เพื่อนฝูง และนักลงทุน เป็นจำนวนเงินกว่า 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงเช็กเงินจาก แอนดี เบกโทลไชม์ ผู้ก่อตั้งซันไมโครซิสเต็มส์[5]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 บริษัทได้ย้ายไปยังเมืองแพโลอัลโทที่ตั้งของบริษัทคอมพิวเตอร์หลายแห่ง ซึ่งต่อมากูเกิลได้ย้ายบริษัทอีกครั้งไปยังเมืองเมาน์เทนวิว ไปยังสำนักงานใหม่ในชื่อเล่นว่ากูเกิลเพล็กซ์ ซึ่งในปี 2543 กูเกิลได้เปิดธุรกิจในส่วนโฆษณาในชื่อ แอดเวิรดส์ และ แอดเซนส์ โดยเป็นการโฆษณาผ่านคำค้นหา ซึ่งทำให้ข้อความโฆษณาตรงกับความต้องการของผู้ค้นหาเนื้อหาในเว็บไซต์ และสองส่วนนี้กลายมาเป็นธุรกิจหลักของกูเกิลร่วมกับตัวเสิร์ชเอนจิน
เดือนพฤษภาคม 2543 กูเกิลได้มีผู้ใช้งานค้นหาคำมากกว่า 18 ล้านคำต่อวัน ซึ่งกลายมาเป็นเซิร์ชเอนจินอันดับหนึ่งของโลก และในเดือนมีนาคม 2544 เอริก ชมิดต์ อดีตผู้บริหารบริษัทโนเวลล์ และผู้บริหารระดับสูงของซันไมโครซิสเต็มส์ได้เข้ามาร่วมงานกับกูเกิลในตำแหน่งประธานบริหาร
[แก้] จัดตั้งบริษัทมหาชน
ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ได้เปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชน โดยมีจำนวนหุ้นทั้งหมด 19,605,052 หุ้นที่ราคา 85 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น[8] โดย 14,142,135 หุ้น (อ้างค่าทางคณิตศาสตร์ √2 ≈ 1.4142135) ได้มีการเปิดขายแก่ประชาชนโดยกูเกิล และ 5,462,917 โดยผู้ถือหุ้นขาย หุ้นของกูเกิลในช่วงขายหุ้นครั้งแรกนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงขึ้นมากกว่า 200% ในช่วงปิดตลาดหุ้นของวันแรกที่ได้ประกาศ (เปรีบเทียบกับ ไป่ตู้ เสิร์ชเอนจินของประเทศจีน มูลค่าเพิ่มขึ้น 354% ในช่วงปิดตลาดวันแรก วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2548) และในวันที่ 31 ตุลาคม 2550 หุ้นกูเกิลได้ขึ้นไปสูงถึงราคา 700 เหรียญสหรัฐ
กูเกิลอยู่ในตลาดหุ้นแนสแด็ก ในชื่อสัญลักษณ์ GOOG และในตลาดหุ้นลอนดอนในสัญลักษณ์ GGEA
[แก้] การซื้อกิจการ
ตั้งแต่ปี 2544 กูเกิลได้เริ่มมีการซื้อบริษัทที่มีการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์เข้ามา ตัวอย่างบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่มีการซื้อได้แก่ บล็อกเกอร์พัฒนาโดยไพราแล็บส์แพลตฟอร์มสำหรับให้บริการเขียนบล็อก ปีกาซาที่พัฒนาโดยไอเดียแล็บซอฟต์แวร์สำหรับดูไฟล์ภาพและวิดีโอ คีย์โฮลพัฒนาโดยบริษัทคีย์โฮลซอฟต์แวร์สำหรับดูภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิลเอิร์ธ เออร์ชินเว็บแอปพลิเคชันในการวิเคราะห์สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นแอนะลิติกส์ ไรต์รีเว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเอกสารสำนักงานออนไลน์ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของด็อกส์ สเก็ตช์อัปพัฒนาโดยแอตแลสต์ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพสามมิติ ยูทูบเว็บไซต์ให้บริการแชร์วิดีโอออนไลน์ จอตสปอตเว็บไซต์สำหรับสร้างเว็บไซต์แนววิกิปัจจุบันใช้ชื่อไซตส์ ดับเบิลคลิกบริษัทให้บริการโฆษณาออนไลน์ ไจกุเครือข่ายสังคมออนไลน์
[แก้] ความร่วมมือ
ตั้งแต่ปี 2548 กูเกิลได้เริ่มมีการร่วมมือกับบริษัทอื่นและหน่วยงานรัฐบาลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้น โดยกูเกิลได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยนาซ่าเอมส์ ในด้านการวิจัยระบบจัดการข้อมูล เทคโนโลยีนาโน และการสำรวจอวกาศ กูเกิลยังได้จับมือกับซันไมโครซิสเตมส์โดยได้แบ่งข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัย[9] กูเกิลได้ร่วมมือกับเอโอแอลของไทม์วอร์เนอร์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบค้นหาวิดีโอออนไลน์ นอกจากนี้ทางบริษัทได้มีการลงทุนในส่วนของรหัสโดเมนบสุด .mobi ร่วมมือกับหลายบริษัทได้แก่ ไมโครซอฟท์ โนเกีย อีริกสัน[10]
[แก้] โครงการรณรงค์
กูเกิล ร่วมรณรงค์กิจกรรมการปิดไฟ กับโครงการเอิร์ธ อาวเออร์ (Earth Hour) ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund : WWF) ด้วยการปรับหน้าเว็บเพจเป็นสีดำพร้อมข้อความว่า "เราปิดไฟแล้ว ต่อไปตาคุณ" (We've turned the lights out. Now it's your turn.) ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551[11]
[แก้] "Google"
ชื่อ "Google" มาจากคำว่า "googol" ซึ่งหมายถึงจำนวนทางคณิตศาสตร์ที่หมายถึงเลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 อีกหนึ่งร้อยตัว หรือ 10100 เพื่อเป็นการแสดงถึงเป้าหมายของบริษัทที่จะจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล อีกกระแสหนึ่งบอกว่าชื่อ Google มาจากความผิดพลาดในการจดโดเมนเนมในช่วงก่อตั้ง
ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 กูเกิลชนะความในศาล ในคดีที่มีบริษัทอื่นตั้งชื่อใกล้เคียง ได้แก่ googkle.com ghoogle.com และ gooigle.com เพื่อเรียกให้คนอื่นเข้าเว็บไซต์ของตน ทำให้เกิดความเสียหายกับชื่อเสียงของกูเกิล
[แก้] ผลิตภัณฑ์ของกูเกิล
[แก้] ซอฟต์แวร์เดสก์ทอป
ซอฟต์แวร์ของกูเกิล จะเป็นซอฟต์แวร์ให้ดาวน์โหลดใช้งานฟรี และทำงานผ่านระบบของกูเกิล
กูเกิล ทอล์ก
ทอล์ก (Google Talk) ซอฟต์แวร์เมสเซนเจอร์และวีโอไอพี
กูเกิล เอิร์ธ
เอิร์ธ (Google Earth) ซอฟต์แวร์ดูภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ
ปีกาซา
ปีกาซา (Picasa) ซอฟต์แวร์สำหรับดูภาพภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้งานคู่กับเว็บไซต์ปีกาซา
กูเกิล แพ็ก
แพ็ก (Google Pack) เป็นชุดซอฟต์แวร์พร้อมดาวน์โหลด ประกอบด้วย โปรแกรมของกูเกิลเองได้แก่ เดสก์ท็อป ปีกาซา ทูลบาร์ โฟโต้สกรีนเซฟเวอร์ เอิร์ธ ทอร์ก วิดีโอเพลย์เยอร์ และโปรแกรมอื่นรวมถึง ไฟร์ฟอกซ์ สตาร์ออฟฟิศ อะโดบี รีดเดอร์ สไกป์
กูเกิล โครม
โครม (Google Chrome) ซอฟต์แวร์เบราว์เซอร์
สเก็ตช์อัป
สเก็ตช์อัป (SketchUp) ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพสเก็ตช์ และภาพ 3 มิติ
กูเกิล แมพ
แมพ (Google Map) ซอฟแวร์สำหรับค้นหาแผนที่บนโลก
[แก้] บริการบนอินเทอร์เน็ต
ชื่อ
ชื่ออังกฤษ
รายละเอียดย่อ
อ้างอิง
กูเกิล เสิร์ช
Google Search
เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มีให้บริการมากกว่า 100 ภาษา
[1]
กูเกิล กรุ๊ปส์
Google Groups
บริการเว็บบอร์ด และสร้างเว็บไซต์ของกลุ่ม
[2]
กูเกิล ค้นหารูปภาพ
Google Image Search
บริการค้นหารูปภาพออนไลน์
[3]
กูเกิล แคเลนเดอร์
Google Calendar
บริการปฏิทินและจดวันนัดหมาย
[4]
จีเมล
Gmail
บริการอีเมล
[5]
กูเกิล ไซต์ไกสต์
Google Zeitgeist
บริการเปิดให้ดูคำค้นหา คำนิยม รูปแบบ และแนวโน้มในการค้นหาผ่านกูเกิลเสิร์ช
[6]
กูเกิล ด็อกส์
Google Docs
บริการใช้งานซอฟต์แวร์สำนักงานรวมถึง เวิร์ด สเปรดชีต พรีเซนเตชัน ให้ผู้ใช้สามารถได้ฟรีออนไลน์ โดยเพิ่มเติมความสามารถในการแชร์และให้ผู้ใช้หลายคนสามารถแก้ไขไฟล์เดียวกันพร้อมกันได้โดยผู้ใช้ [12] โดยเริ่มพัฒนาจากซอฟต์แวร์ ไรต์รี (Writely) และ กูเกิล สเปรดชีตส์ (Google Spreadsheet) เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2550
[7]
กูเกิล ทรานซเลต
Google Translate
บริการแปลข้อความผ่านเว็บไซต์ รวมถึงแปลเว็บไซต์ทั้งหน้า
[8]
บล็อกเกอร์
Blogger
บริการเขียนบล็อก
[9]
กูเกิล บล็อกเสิร์ช
Blog Search
บริการค้นหาบล็อก
[10]
ปีกาซา
Picasa
เว็บไซต์เก็บภาพ ใช้งานคู่กับซอฟต์แวร์ปีกาซา
[11]
กูเกิล เพจ
Google Page
บริการสร้างเว็บไซต์
[12]
กูเกิล แมปส์
Google Maps
บริการแผนที่ ค้นหาที่อยู่ ค้นหาธุรกิจและร้านอาหาร
[13]
ยูทูบ
YouTube
บริการแชร์วิดีโอ
[14]
กูเกิล วิดีโอ
Google Video
บริการค้นหาวิดีโอออนไลน์
[15]
กูเกิล เว็บมาสเตอร์
Google Webmaster
ให้บริการเครื่องมือสำหรับเว็บมาสเตอร์ ตรวจสอบเว็บไซต์ ค้นหาดัชนีการค้นหาผ่านกูเกิล ตรวจสอบโรบอตไฟล์
[16]
กูเกิล สกอลาร์
Google Scholar
บริการค้นหาวารสาร หนังสือ สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ
[17]
กูเกิล สกาย
Google Sky
ดูดาว และระบบสุริยะจักรวาลผ่านเว็บไซต์
[18]
กูเกิล สารบบเว็บ
Google Directory
ค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ ข้อมูลจาก ดีมอซ
[19]
ออร์กัต
Orkut
เครือข่ายสังคมออนไลน์ลักษณะคล้ายกับ ไฮไฟฟ์ และเฟซบุ้ก ออกแบบโดยวิศวกรกูเกิลชาวตุรกี ออร์กัต บือยืกเคิกเทน (Orkut Büyükkökten) เปิดใช้งานเมื่อ มกราคม 2547
[20]
กูเกิล แอดเซนส์
Google AdSense
ให้บริการโค้ดสำหรับติดตั้งโฆษณาบนเว็บไซต์ ทำงานคู่กับแอดเวิรดส์
[21]
กูเกิล แอดเวิรดส์
Google AdWords
บริการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ที่ติดตั้งแอดเซนส์
[22]
กูเกิล แอนะลิติกส์
Google Analytics
บริการนับสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ พร้อมระบบวิเคราะห์ผู้ใช้งาน
[23]
กูเกิล แอปส์
Google Apps
บริการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการของกูเกิลผ่านทางชื่อโดเมนส่วนตัว โดยแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้เช่น จีเมล แคเลนเดอร์ ทอล์ก ด็อกส์ โดยมีการให้บริการทั้งฟรีและเสียเงิน
[24]
ไอกูเกิล
iGoogle
ในชื่อเดิม เพอร์เซอนอลไลส์ ให้บริการทำหน้าเริ่มต้นในการเข้าชมเว็บไซต์ โดยสามารถนำเว็บฟีดและแกเจ็ต จากเว็บอื่นมารวมได้
[25]
โดยบริการที่อยู่ในขั้นทดลอง จะเปิดให้ใช้งานโดยจะมีคำว่า "Beta" อยู่ภายใต้โลโก้นั้นซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกูเกิล แล็บส์ (Google Labs)
[แก้] บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
Map's for mobile
Mobile
SMS
[แก้] สำนักงาน
กูเกิลมีสำนักงานหลายสาขาทั่วโลก โดยในสหรัฐอเมริกามีมากกว่า 20 สาขา และที่อื่นทั่วโลกมากกว่า 40 แห่ง กูเกิลสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิวในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยสถานที่ตั้งของสาขาทั้งหมดดังนี้[13]
สหรัฐอเมริกา
เมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย (สำนักงานใหญ่)
เออร์ไวน์ รัฐแคลิฟอร์เนีย
ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
ซานตาโมนีกา รัฐแคลิฟอร์เนีย
ดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน
แอนน์อาร์เบอร์ รัฐมิชิแกน
ออสติน รัฐเทกซัส
แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย
เดนเวอร์ รัฐโคโลราโด
โบลเดอร์ รัฐโคโลราโด
เคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์
ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์
คอปเพลล์ รัฐเทกซัส
แดลลัส รัฐเทกซัส
เคิร์กแลนด์ รัฐวอชิงตัน
ซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน
นิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก
ฟินิกซ์ รัฐแอริโซนา
พิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย
วอชิงตัน ดี.ซี.
อเมริกาเหนือ
แคนาดา
อเมริกาใต้
บราซิล
เม็กซิโก
ออสเตรเลีย
ออสเตรเลีย
เอเชีย
จีน
อินเดีย
ฮ่องกง
ญี่ปุ่น (โตเกียว โอซะกะ)
เกาหลีใต้
สิงคโปร์
ไต้หวัน
ตุรกี
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ยุโรป
เดนมาร์ก
ฟินแลนด์
ฝรั่งเศส
เยอรมนี
ไอร์แลนด์
อิตาลี
เนเธอร์แลนด์
นอร์เวย์
โปแลนด์
รัสเซีย
สเปน
สวีเดน
สวิตเซอร์แลนด์
สหราชอาณาจักร (ลอนดอน แมนเชสเตอร์)
[แก้] ความขัดแย้งในกฏและสิทธิ
การเติบโตของกูเกิลในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และการบริการ ก่อให้เกิดความขัดแย้งและการวิพากษ์วิจารณ์หลายครั้ง ตัวอย่างเช่นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหนังสือ จากการให้บริการค้นหาหนังสือผ่าน กูเกิล บุ๊กเสิร์ช ที่มีการนำข้อมูลจากหนังสือมาสแกนเพื่อให้ผู้ใช้งานค้นคว้าง่ายขึ้น[14] เช่นเดียวกับการค้นหาภาพผ่าน กูเกิล ค้นหารูปภาพ นอกจากนี้ยังมีการวิจารณ์ที่กูเกิลได้ทำการเซ็นเซอร์ข้อมูลในการค้นหาบางส่วน เช่นกูเกิลได้ยอมให้ในประเทศจีน ที่ทางรัฐบาลไม่ต้องการให้ผู้ใช้งานกูเกิลจีนค้นหาข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม กูเกิลได้ทำการเซ็นเซอร์ข้อมูลเกี่ยวกับ การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน และเช่นเดียวกันในการเซ็นเซอร์ของเยอรมนีและฝรั่งเศสเกี่ยวกับการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี
ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัวนั้นกูเกิลถูกวิจารณ์ว่าได้เก็บข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของคุกกี้ เป็นระยะเวลานานกว่าเว็บไซต์อื่น โดยทางกูเกิลเก็บข้อมูลไว้เป็นเวลา 18 เดือน ขณะที่ทางยาฮู!และเอโอแอลเก็บข้อมูลเป็นเวลา 13 เดือน[15] ทางด้านข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายผ่านดาวเทียม ที่แสดงผลผ่าน กูเกิล เอิร์ธ และกูเกิล แมปส์ ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหน่วยความมั่นคงของหลายประเทศ ในด้านความเป็นส่วนตัว และการล้วงความลับทางการเมือง รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถดูสถานที่สำคัญโดยไม่มีการเซ็นเซอร์ เช่น พระราชวัง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายในด้านการจารกรรมและปัญหาการก่อการร้ายได้โดยง่าย ถึงแม้ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะเปิดให้ดูได้มานานก่อนหน้าที่กูเกิลจะออกซอฟต์แวร์ก็ตาม
ในด้านการโฆษณาผ่านกูเกิล ได้มีการวิจารณ์ในระบบการโฆษณาที่ไม่มีประสิทธิภาพเต็มความสามารถ ซึ่งทางเจ้าของเว็บไซต์ที่ติดตั้งโฆษณาพยายามโกงโดยการกดโฆษณาเองเพื่อเพิ่มรายได้ให้ตนเอง ทำให้ผู้ลงโฆษณาต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นซึ่งมีรายงานว่า 14-20 เปอร์เซนต์ เป็นการกดโดยตั้งใจเพื่อทำรายได้ให้กับเจ้าของเว็บ[16] นอกจากนี้กูเกิลยังโดนกล่าวถึงในเรื่องของการกีดกันโอกาสของคนต่างเพศและคนสูงอายุจากอดีตพนักงานที่โดนเชิญให้ออก[17][18]
[แก้] อ้างอิง
^ 1.0 1.1 1.2 "The Rise of Google" (29 เมษายน พ.ศ. 2547). ยูเอสเอทูเดย์. เรียกข้อมูลวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
^ Financial Tables. Google Investor Relations. สืบค้นวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551
^ Google’s Surge Would Make Casey Kasem Proud. Wall Street Journal (31 ตุลาคม พ.ศ. 2550). สืบค้นวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551
^ "100 Best Companies to Work For 2007." นิตยสารฟอร์จูน 22 มกราคม พ.ศ. 2550 เรียกข้อมูลวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551
^ 5.0 5.1 ประวัติบริษัทกูเกิล
^ ประวัติกูเกิล
^ http://google.stanford.edu
^ Google 2004 Annual Report
^ Google, Sun make 'big deal' together
^ dotMobi Investors
^ Earth Hour google.co.th
^ Writely So จากบล็อกกูเกิล
^ ที่ตั้งทั้งหมดของสำนักงานกูเกิล
^ A New Chapter. The Economist (30 ตุลาคม 2551). สืบค้นวันที่ 2008-11-07
^ Liedtke, Michael. "Ask.com will purge search info in hours", Journal Gazette, Fort Wayne Newspapers, 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550. สืบค้นวันที่ 2007-12-11
^ Mills, Elinor. "Google to offer advertisers click fraud stats." c net. 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549. เรียกดู 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549.
^ Kawamoto, Dawn. "Google hit with job discrimination lawsuit." cnet news.com. 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2548.
^ CTV.ca Google accused of ageism in reinstated lawsuit
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:กูเกิล
เว็บไซต์กูเกิลอย่างเป็นทางการ
เว็บไซต์กูเกิลประเทศไทย
จุดกำเนิดของ กูเกิ้ล (The birth of Google) ประวัติกูเกิล จากเว็บวิชาการ.คอม
รายชื่อการบริการและซอฟต์แวร์ทั้งหมดของกูเกิล
รายชื่อบริการและซอฟต์แวร์กูเกิล ที่อยู่ระหว่างการทดลอง
[แก้] หนังสืออ่านเพิ่ม
เรื่องราวของกูเกิล, หนังสือแปลจาก The Google Story ของ เดวิด เอ. ไวส์ และ มาร์ก มัลซีด แปลโดย วิภาดา กิตติโกวิท. ISBN 974-9754-52-2
[ซ่อน]
ด • พ • กกูเกิล และผลิตภัณฑ์จากบริษัท
บุคลากรหลัก
เอริก ชมิดต์ (ผู้อำนวยการ) เซอร์เกย์ บริน (ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธานฝ่ายเทคโนโลยี) แลร์รี เพจ (ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์)
โฆษณา
แอดแมนิเจอร์ • แอดสเคป • แอดเซนส์ • แอดเวอร์ไทซิงโพรเฟสชันนัลส์ • แอดเวิดส์ • แอนะลิติกส์ • เช็กเอาต์ • ดับเบิลคลิก
การสื่อสาร
อะเลิตส์ • แคเลนเดอร์ • เฟรนด์คอนเนกต์ • จีเมล • กรุ๊ปส์ • ทอล์ก • ละติจูด • ออร์กัต • เควสชันส์แอนด์แอนเซอร์ส • รีดเดอร์ • ทรานซเลต • วอยซ์ • เวฟ
ซอฟต์แวร์
โครม • โครมโอเอส • เดสก์ทอป • เอิร์ธ • แกเจตส์ • จีเมลโมบายล์ • แพ็ก • ปีกาซา • พาวเวอร์มิเตอร์ • สเก็ตช์อัป • ทอล์ก • ทูลบาร์ • อัปเดตเตอร์ • เออร์ชิน
แพลตฟอร์ม
แอกเคาต์ • แอนดรอยด์ • แอปเอนจิน • แอปส์ • เบส • บิ๊กเทเบิล • กาจา • โคออป • เกียรส์ • ไฟล์ซิสเท็ม • เฮลท์ • เนทีฟไคลเอนต์ • โอเพนโซเชียล • เวฟเฟเดอเรชันโพรโทคอล
เครื่องมือพัฒนา
เอแจ็กซ์เอพีไอส์ • โค้ด • แกเจตส์เอพีไอ • จีเดตา • กูเกิลบอต • กุยซ์ • เว็บเซิร์ฟเวอร์ • อิมเมจเลเบิลเลอร์ • เคเอ็มแอล • แมปรีดิวซ์ • พินอิน • สเก็ตช์อัปรูบี • ไซต์แมปส์ • ซัมเมอร์ออฟโค้ด • เทคทอล์ก • เว็บทูลคิต • เว็บไซต์ออปทิไมเซอร์
เผยแพร่สารสนเทศ
บล็อกเกอร์ • บุ๊กมาร์กส • ด็อกส์ • ฟีดเบิร์นเนอร์ • ไอกูเกิล • ไจกุ • โนล • แมปเมกเกอร์ • พาโนรามีโอ • ปีกาซาเว็บอัลบัมส์ • ไซตส์ (จอตสปอต) • ยูทูบ
สืบค้น (เพจแรงก์)
เสิร์ชแอปพลิแอนซ์ • ออดิโออินเด็กซิง • บุ๊กเสิร์ช • โค้ดเสิร์ช • เดสก์ทอป • แฟสต์ฟลิป • ไฟแนนซ์ • กูก-411 • อิมเมจเสิร์ช • แมปส์ (สตรีตวิว) • นิวส์ • แพเทนตส์ • พรอดักต์เสิร์ช • สคอเลอร์ • เสิร์ชวิกิ • ยูสเน็ต • วิดีโอ • วิดีโอ • เว็บเสิร์ช • วิเคราะห์: อินไซตส์ฟอร์เสิร์ช • เทรนดส์ • เว็บมาสเตอร์ไกด์ไลนส์
ยุติการให้บริการ
แอนเซอรส์ • เบราว์เซอร์ซิงก์ • คลิกทูคอล • ดอดจ์บอล • โชกาโบนีโต • ไลฟ์ลี • แมชอัปเอดิเตอร์ • โน้ตบุ๊ก • เพจครีเอเตอร์ • วิดีโอมาร์เก็ตเพลซ • เว็บแอกเซเลอเรเตอร์
อื่น ๆ
กูเกิลบอมบ์ • การปิดกั้น • คำวิจารณ์ • กูเกิลไชน่า • กูเกิลดอตอ็อก • กูเกิลเพลกซ์ • ข่าวลวง • ไอ/โอ • แลปส์ • เครื่องหมายการค้า • ลูนาร์เอกซ์ไพรซ์ • เวนเชอรส์ • วายฟาย • ไซต์ไกสต์
คำขวัญ: Don't be evil
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5".
หมวดหมู่: บริษัทที่มีหุ้นในแนสแด็ก บริษัทที่มีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน กูเกิล
ดู
บทความ
อภิปราย
แก้ไข
ประวัติ
เครื่องมือส่วนตัว
ทดลองใช้รุ่นเบตา
ล็อกอิน / สร้างบัญชีผู้ใช้
if (window.isMSIE55) fixalpha();
ป้ายบอกทาง
หน้าหลัก
เหตุการณ์ปัจจุบัน
ถามคำถาม
บทความคัดสรร
บทความคุณภาพ
สุ่มเนื้อหา
สืบค้น
มีส่วนร่วม
ศาลาประชาคม
ปรับปรุงล่าสุด
ร่วมแก้ไข
เรียนรู้การใช้งาน
ทดลองเขียน
ช่วยเหลือ
สภากาแฟ
บริจาค
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
ปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
อัปโหลด
หน้าพิเศษ
หน้าสำหรับพิมพ์
ลิงก์ถาวร
อ้างอิงบทความนี้
ภาษาอื่น
Afrikaans
አማርኛ
العربية
مصرى
Asturianu
Azərbaycan
Boarisch
Български
বাংলা
Bosanski
Català
Cebuano
Česky
Cymraeg
Dansk
Deutsch
Zazaki
Dolnoserbski
Ελληνικά
English
Esperanto
Español
Eesti
Euskara
فارسی
Suomi
Føroyskt
Français
Gaeilge
Galego
עברית
हिन्दी
Hrvatski
Hornjoserbsce
Kreyòl ayisyen
Magyar
Bahasa Indonesia
Ido
Íslenska
Italiano
ᐃᓄᒃᑎᑐᑦ/inuktitut
日本語
ქართული
Qaraqalpaqsha
Taqbaylit
ភាសាខ្មែរ
ಕನ್ನಡ
한국어
Kurdî / كوردی
Кыргызча
Latina
Lëtzebuergesch
ລາວ
Lietuvių
Latviešu
Malagasy
Македонски
മലയാളം
मराठी
Bahasa Melayu
Nāhuatl
नेपाली
Nederlands
Norsk (nynorsk)
Norsk (bokmål)
Occitan
Polski
پنجابی
Português
Runa Simi
Kirundi
Română
Русский
Саха тыла
Sicilianu
Scots
سنڌي
Srpskohrvatski / Српскохрватски
Simple English
Slovenčina
Slovenščina
Shqip
Српски / Srpski
Svenska
தமிழ்
Tagalog
Türkçe
Татарча/Tatarça
Українська
اردو
O'zbek
Tiếng Việt
West-Vlams
Walon
ייִדיש
Yorùbá
中文
Bân-lâm-gú
粵語
หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อ 08:05 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2552
ข้อความทั้งหมดอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (CC-BY-SA 3.0) และเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมตามนโยบายด้านลิขสิทธิ์ ช่วยกันเผยแพร่ความรู้จากวิกิพีเดีย ข้อมูลทั้งหมดในหน้านี้สามารถนำไปเผยแพร่ คัดลอกต่อโดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัดWikipedia® เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ มูลนิธิวิกิมีเดีย
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เกี่ยวกับวิกิพีเดีย
ข้อความในหน้านี้เป็นการเขียนขึ้นจากบุคคลทั่วไป วิกิพีเดียไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบในข้อความดังกล่าว
นักศึกษาทำลงใน Web blogspot.com ของนักศึกษา พร้อมทั้งแสดงที่มาหรืออ้างอิงด้วยอาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น